|
วิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาเทศบาลตำบลทับช้าง
“ ทับช้างเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจชุมชนดี เกษตรกรรมเด่น โคนมดัง สาธารณูปโภคครบครัน ป้องกันสาธารณภัย หลากหลายประเพณี สุขภาพดีถ้วนหน้า การศึกษาก้าวไกล สิ่งแวดล้อมสดใส ปลอดภัยยาเสพติด พิชิตความยากจน ”
คำขวัญตำบล “ สุดแดนแผ่นดินจันทบูรณ์ เพิ่มพูนสินค้าเกษตรกรรม หลวงปู่ดำศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบล เป็นแหล่งชุมชนผลิตโคนม อุดมด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย ประวัติศาสตร์พระเจ้าตากพักทัพ ยินดีต้อนรับสู่น้ำตกกรวดกรอง ธรรมชาติน่ามองดูปลากกหิน บริการด้วยรอยยิ้มเป็นอาจิณ ประทับใจมิรู้สิ้นผู้มาเยือน ”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลทับช้าง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาบ้านเมืองน่าอยู่น่าอาศัยสาธารณูปโภคครบครัน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมร่มเย็นเป็นสุข
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจัดการบริหารองค์กร
แนวทางการพัฒนาเทศบาลตำบลทับช้าง
แนวทางการพัฒนาก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาทาง สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำไฟฟ้า ประปา
– ก่อสร้างปรับปรุงการคมนาคมให้มีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
– ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
– ก่อสร้างและปรับปรุงระบบประปาในหมู่บ้านให้ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ สะอาด ปลอดภัย ประหยัด
– แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติอย่างรวดเร็ว
– บริการสิ่งสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นให้ทั่วถึง
แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชน
– ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ให้แก่เกษตรกรทุกระดับ
– สร้างเครือข่ายกลุ่ม/สถาบันการเกษตร สหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ทุกระดับอย่างเป็นระบบซึ่งกันและกัน
– ส่งเสริมการผลิตและขยายพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด
– ส่งเสริมและจัดให้มีแหล่งจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและสินค้าพื้นเมืองในท้องถิ่น
– ส่งเสริมการจัดทำแปลงสาธิตหรือกิจกรรมสาธิตด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
– สนับสนุนให้เกษตรกร สถาบันเกษตร ได้รับรู้ข้อมูลข้าวสารการเคลื่อนไหวด้านการเกษตรที่มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
– สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการควบคุมการผลิต ตลอดจนการบรรจุหีบห่อ และการบริการจัดการของผู้ประกอบการในพื้นที่
– ส่งเสริมอาชีพของผู้ประกอบการรายย่อย
– ให้มีตลาดกลาง การเกษตรหรือตลาดสดของตำบล
– ให้ความรู้แก่ชุมชนและสร้างบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ให้เพียงพอและมีคุณภาพ
– ส่งเสริมให้ผู้ว่างงานมีงานทำ โดยการพัฒนาฝีมือแรงงานและยกระดับแรงงาน
– ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในตำบลและมีมาตรการด้านความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
– จัดให้มีป้ายประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ
– จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาสร้างจิตสำนึก เฝ้าระวัง ป้องกัน บำบัดฟื้นฟู พัฒนาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนตระหนักถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์และหวงแหน
ทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง
– ให้มีองค์กรชุมชนเข้าไปดูแล/รับผิดชอบ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในทุก
ระดับกับภาคราชการ
– ให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างถิ่นจริงจังและต่อเนื่อง
– ให้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อการปลูกฝังจิตสำนึกให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– สนับสนุนงบประมาณบุคลากรที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ
– ป้องกันการบุกรุกที่ดินสาธารณะ ป่าไม้ ลำคลอง
แนวทางการพัฒนาป้องกัน รักษา ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดโรคติดต่อ ส่งเสริมการศึกษาและอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
– ให้การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในตำบล เป็นเบี้ยยังชีพและอุปกรณ์ต่าง ๆ
– สนับสนุนส่งเสริมการออกกำลังกายของประชาชน
– จัดหาสถานที่สำหรับการออกกำลังกายและจัดการแข่งขันกีฬาทุกเพศวัย
– ท้องถิ่นมีความพร้อม ความเข้มแข็งในการรองรับถ่ายโอนสถานศึกษาและจัดการศึกษา
– สนับสนุนงบประมาณนอกโรงเรียนหรือการศึกษาตลอดชีวิต จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้ความรู้
– ส่งเสริมสถาบันทางศาสนา มีส่วนร่วมในการอบรม จริยธรรมในสถานศึกษามากขึ้น
– สนับสนุนการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว เชิงคุณธรรม จริยธรรม
– สนับสนุนกิจการของโรงเรียนในตำบลให้ได้คุณภาพการศึกษาของ สมศ.
– เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานทางวัฒนธรรมให้แพร่หลาย
– ทำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาล ให้ได้มาตรฐานการศึกษาของกรมส่งเสริมท้องถิ่น
– ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์เผยแพร่และพัฒนาด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างจริงจัง
– สร้างความเข้มแข็งของครอบครัว/ชุมชน ป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ
– ให้ประชาชนได้รับการตรวจสุขภาพอย่างทั่วถึง
– ให้การป้องกันภัย บรรเทา สาธารณภัยมีความพร้อมรวดเร็ว เพียงพอ
แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาความสามารถบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมสวัสดิการ
– พัฒนาการบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานเป็นทีม
– ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับ
– เผยแพร่ข่าวสารการดำเนินกิจกรรมขององค์กรทุกรูปแบบ
– ส่งเสริมสวัสดิการ พร้อมเครื่องอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน
– ส่งเสริมการศึกษาต่อของสมาชิก ทต. ผู้บริหารและพนักงาน อย่างทั่วถึง
– จัดหาที่ดิน ก่อสร้างสำนักงานบริการประชาชนเพิ่มเติม
– เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมพื้นที่
– พัฒนาคุณภาพด้านการให้บริการประชาชนแบบบริการถึงที่หรือวันสตอปเซอร์วิส
– ประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นโยบายของเทศบาลประสบผลสำเร็จ